ลูกเป็นผื่นแพ้ ผด คันแดง ผิวลอก
ปัญหาที่พ่อแม่ทุกคนวิตกกังวล ยิ่งกับเด็กอ่อนที่ผิวยังไม่แข็งแรงด้วยแล้ว ยิ่งมีความอ่อนไหวต่อสารเคมีและมลพิษเป็นอย่างมาก
มาหาทางป้องกัน ก่อนที่ลูกน้อยจะเป็นภูมิแพ้ผิวหนังกันดีกว่าค่ะ ก่อนอื่นมาดูพัฒนาการของผิวทารกหลังคลอด ทารกในครรภ์มารดาจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ได้รับการปกป้องหลังคลอดผิวหนังจะต้องทำหน้าที่ป้องกันต่อ ปัจจัยหลายประการ ได้แก่
- ป้องกันการสูญเสียน้ำ
- ป้องกันสารพิษต่างๆ
- ป้องกันความร้อนและความหนาวเย็น
- ป้องกันความเครียดจากภายในร่างกาย
- ป้องกันรังสียูวี
- ป้องกันเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค
ลักษณะพิเศษด้านสรีรวิทยาและการทำงานของผิวทารก
- อัตราส่วนของผิวหนังต่อปริมาตรร่างกายในทารกสูงกว่าผู้ใหญ่มาก
- ชั้นหนังแท้ของทารกบางกว่าผู้ใหญ่
- ปริมาณน้ำที่อยู่ในผิวหนังชั้นบนสุดสูงกว่าและมีโครงสร้างหลวมกว่าของผู้ใหญ่
- ผิวหนังของทารกไม่มีไขมัน / ลิปิด
- ผิวหนังของทารกสร้างเหงื่อและไขมันน้อยกว่า
- สภาพความเป็นกรดอ่อนๆ ของผิวหนังไม่ปรากฏในช่วงแรกคลอด แต่จะพัฒนาขึ้นในช่วงสัปดาห์ต้นๆ ของชีวิต ผิวหนังในวัยเด็กจึงบอบบางกว่าในวัยผู้ใหญ่
พัฒนาการของสภาพความเป็นกรดอ่อนๆ ของผิว และจุลินทรีย์ประจำถิ่นที่อยู่บนผิวทารก
ช่วงแรกเกิด ผิวหนังของทารกมักปลอดเชื้อ ในช่วงสัปดาห์ต้นๆ การสะสมของสารที่ได้จากกระบวนการเผาผลาญของผิว และการเริ่มต้นทำหน้าที่ตามปกติของผิวจะทำให้ค่า pH ที่ 6.5 ลดลงเป็น 5.5
ปัญหาของผิวทารก
ผื่นผ้าอ้อม : แอมโมเนียจากปัสสาวะและเอ็นไซม์จากอุจจาระทำให้ผิวหนังเกิดสภาวะเป็นด่างและทำให้เกิดความเสียหายของผิวได้ จนเป็นเหตุให้เกิดอาการอักเสบในที่สุด นอกจากนี้แบคทีเรียและยีสต์ในลำไส้ยังอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อได้
วิธีการป้องกัน : ควรหมั่นเปลี่ยนผ้าอ้อม ทำความสะอาดอย่างอ่อนโยนและหมดจด รวมทั้งดูแลอย่างปกป้อง
วิธีการรักษา : ใช้ยาทาที่มีส่วนประกอบของ Titanium Dioxide ในกรณีที่ติดเชื้อควรใช้ยา Nystatin หรือ Clotrimazol
ผิวหนังบริเวณศีรษะลอก (Cradle cap) : น้ำเหลืองจากการอักเสบบนหนังศีรษะทำให้เกิดแผ่นสีน้ำตาลเหลืองซึ่งอาจเป็นอาการผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้ แล้วต้องทำอย่างไร ทางที่ดีที่สุดคือปล่อยทิ้งไว้จนกระทั่งหลุดลอกไปเอง ห้ามถูออก ถ้าจำเป็นสามารถทาน้ำมันบนหนังศีรษะในช่วงกลางคืนแล้วทิ้งค้างคืนโดยสวมหมวกผ้าฝ้ายเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้เปรอะเปื้อนที่นอน ในตอนเช้าแผ่นที่ติดอยู่จะสามารถล้างออกมาพร้อมน้ำมันโดยใช้แชมพูอ่อนๆ ผื่นและแผลโดยเฉพาะบนใบหน้า : มักเกิดจากการใช้ครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันมากเกินไปในอุณหภูมิปกติที่อุ่น
การรักษา: ลดความถี่ในการทาครีมหรือใช้ครีมปริมาณน้อยลง เปลี่ยนไปใช้โลชั่นสำหรับทารกซึ่งมีส่วนประกอบของน้ำมันเฉพาะเวลาอากาศเย็นเท่านั้น รอยข่วน : หากเกิดรอยข่วนซ้ำๆ ควรปรึกษากุมารแพทย์ หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง เพราะอาจเป็นอาการของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้
การรักษา: สำหรับผิวแห้งควรลดความถี่ในการชำระล้าง อาบน้ำ หรือแช่น้ำ และควรใช้น้ำที่มีอุณหภูมิ 32 องศาเซลเซียสร่วมกับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอ่อนๆ ที่ปราศจากฟอง ควรใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ควรรักษาอุณหภูมิในห้องนอนให้เย็น ไม่ควรสวมเสื้อผ้าหรือห่มคลุมให้อุ่นจนเกินไป